G-X2W9CJT55Y
Last updated: 18 พ.ค. 2565 | 2647 จำนวนผู้เข้าชม |
คู่มือการใช้งาน ที่นอนลมป้องกันแผลกดทับ รุ่น QDC-300B
การติดตั้งที่นอนลม ปั๊มลม และวิธีการดูแลรักษา
1. ปูที่นอนลมบนเตียงนอน โดยนำส่วนที่เป็นท่อต่อระหว่างลอนไว้ด้านล่างระวังที่นอนลมวางผิดด้านเพราะจะไม่ทำให้เกิด ประสิทธิภาพใน การรักษา
2. ต่อท่อลมเข้ากับเครื่องปั๊มให้แน่นพอดี วางเครื่องปั๊มในแนวราบหรือแขวนไว้ในแนวตั้งฉากโดยใช้ขอเกี่ยวหลังเครื่องแขวนไว้ ปลายเตียงหรือข้างเตียงก็ได้แล้วแต่สะดวก
3. ตรวจดูท่อลมที่เชื่อมต่อระหว่างปั๊มกับที่นอนลมว่าไม่บิดงอจนลมไม่สามารถไหลผ่านได้หรือไม่
4. เสียบปลั๊กไฟ และกดสวิทซ์เปิด (ON) หมุนปุ่มปรับแรงดันลมไปทางขวาสุด เพื่อปรับให้ลมเข้าที่นอนมากที่สุด
5. สัญญาณไฟเตือนสีเขียวจะขึ้นเมื่อปั๊มเริ่มทำงานลมจะออกข้างเดียวก่อนเมื่อลมเข้า เต็มที่แล้ว จะสลับมาออกอีกข้างหนึ่ง (ปั๊มรุ่นมีไฟ)
6. เมื่อลมเข้าเต็มที่ให้นำผ้าคลุมมาคลุมทับที่นอนลมติดกระดุมทั้งหัวท้ายเพื่อป้องกันสิ่งสกปรกและทำความสะอาดได้ง่าย (ผ้าคลุมมีเฉพาะที่นอนแบบลอน)
7. รอจนลมเข้าที่นอนเต็มที่ ประมาณ 15-30 นาที นำผู้ป่วยลงนอนบนที่นอนลม
8. ต้องเปิดสวิทซ์ทำงานไว้ตลอดห้ามปิด
สามารถปรับระดับความอ่อนแข็งตามต้องการ โดยหมุนปุ่มควบคุมระดับลม ไม่ควรปรับให้อ่อนจนหลังผู้ป่วยสัมผัสกับพื้นรักษาระดับลมโดยการเปิดเครื่องปั๊มอย่างต่อเนื่องในกรณีของการใช้ที่นอนลมร่วมกับเตียงผู้ป่วย สามารถปรับที่นอนลมให้อ่อนลงเพื่อความสะดวกในการปรับความลาดชันของหัวและขาได้โดยใช้ปุ่มควบคุมระดับลม
วิธีทำความสะอาดที่นอนลมและปั๊มลม
1. หากเป็นที่นอนแบบลอน เวลาใช้ที่นอนควรใช้ผ้าคลุมเพราะจะช่วยกันน้ำและลดการเกิดสิ่งสกปรกจากปัสสาวะได้ แต่ควรเช็ดน้ำออกเสมอหากผ้าคลุมเปียกน้ำมากไป หากตัวลอนเลอะให้เอาผ้าชุบน้ำหมาดๆ หรือชุบน้ำแอลกอฮอล์ มาเช็ด ไม่ให้นำไปซักหรือแช่น้ำเด็ดขาด เพราะจะทำให้ที่นอนเปื่อยและชำรุดได้ง่าย
2. หากเป็นที่นอนแบบรังผึ้ง สามารถใช้ผ้าชุบน้ำธรรมดาหรือชุบน้ำแอลกอฮอล์เช็ดทำความสะอาดได้เลย เพราะที่นอนแบบรังผึ้งผลิตมาจาก PVC สามารถทำความสะอาดได้ง่ายกว่าแบบลอน
3. การทำความสะอาดปั๊มลา ใช้ฟองน้ำหรือผ้าก็ได้ ชุบน้ำยาทำความสะอาดแล้วเช็ดให้สิ่งสกปรกออก สามารถเช็ดที่ตัวท่อซิลิโคนได้ด้วย
วิธีบำรุงรักษาที่นอนลมและปั๊มลมให้มีอายุการทำงานยืนยาว
1. ควรใช้ผ้าคลุมทุกครั้งเมื่อใช้ที่นอนลม เช็ดให้แห้งทุกครั้งเมื่อที่นอนเลอะน้ำ
2. ตรวจสอบท่อลมและปลั๊กไฟสม่ำเสมอว่ามีรอยขูดขีดหรือไม่
3. เมื่อไม่ใช้ที่นอนลม ควรปิดสวิทซ์และถอดปลั๊กออก และไม่ใช้ที่นอนขณะตัวเปียก
4. ไม่ควรวางที่นอนลมใกล้ของมีคม
5. ไม่ควรอาบน้ำผู้ป่วยบนที่นอนลมเพราะอาจจะทำให้ที่นอนชื้นและเปื่อยและชำรุดในที่สุด
6. ไม่ควรวางปั๊มใกล้กับหรือที่ ที่สามารถตกน้ำได้
7. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าที่นอนทำงานสลับยุบ พอง โดยใช้มือกดที่ที่นอนลมจะรู้สึกแข็งและนิ่มสลับกัน
วิธีเก็บที่นอนลม
1. เอาลมออกจากที่นอนให้หมด ม้วนท่อซิลิโคนที่เชื่อมต่อเป็นวงกลมแล้วสอดไว้ในที่นอนแล้วพับด้านข้างทั้ง 2 ข้างเข้าหากัน
2. พับจากหัวมากึ่งกลาง และพับอีกด้านมาหากึ่งกลางเช่นกัน
3. พับอีกทีให้เป็นสีเหลี่ยม เก็บไว้ในถุงที่สะอาด
4. อาจจะเอาปั๊มลมวางไว้กลางที่นอนแล้วพับก็ได้ หรือแยกต่างหากก็ได้แล้วแต่ความสะดวก